BLOG

ทำไมผมถึงไม่ทำดรอปชิป ?

เนื่องจากผมเคยไปคอมเม้นท์ให้คำแนะนำเพื่อน ๆ ที่ขายสินค้าออนไลน์ในกลุ่มดรอปชิป และลงท้ายไว้ด้วยว่า “ส่วนตัวผมไม่ได้ทำดรอปชิป หากสงสัยส่วนไหนสอบถามได้เลย อันไหนผมช่วยได้เดี๋ยวผมช่วยแนะนำ”

จาก quote ข้างบนนั้น จึงมีคำถามตามหัวข้อโพสต์ส่งตรงเข้ามาที่ inbox ของผมว่า ทำไมผมถึงไม่คิดจะทำดรอปชิป ?

จริง ๆ แล้วผมทำอีคอมเมิร์สทั้งแบบ dropshipping , fulfilment , print on demand มาแล้วทั้งนั้น แต่ที่ทำน้อยลงหรือแทบจะเลิกทำ เพราะแค่มันไม่ตอบสนองกับไลฟ์สไตล์ผมสักเท่าไหร่ หรือผมอาจจะไม่เก่งพอ เลยทำน้อยลง หรือจะเรียกว่าเลิกทำก็ไม่ผิด แต่ทั้งนี้ผมก็ยังพอได้ประสบการณ์จากตรงนั้นมาบ้างไม่มากก็น้อย เลยพอได้เอามาแบ่งปั่นให้คำแนะนำสำหรับคนที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันนี้

การทำดรอปชิปก็เป็นรูปแบบการหารายได้ที่ดีครับ ไม่ต้องสต๊อกสินค้า มีออเดอร์ค่อยไปสั่ง แล้วให้ซัพพลายเออร์จัดส่งให้ลูกค้าในนามร้านค้าของเราเอง ซื้อ 10$ ขาย 20$ กำไรทันที 10$ (อ่านดูแล้วทำไมมันดูง่ายจังใช่ไหมครับ)

สำหรับสิ่งที่ผมประสบพบเจอในการทำดรอปชิป

  1. ดรอปชิปไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด มีการแข่งขันที่สูงและแทบจะเรียลไทม์ ทั้งคู่แข่งในหน้าเฟสบุ๊คส์ และในหน้า google ads
  2. กำไรน้อยแทบจะไม่ครอบคลุมค่าโฆษณา ถึงแม้จะพยายามหาแหล่งสินค้าที่ถูกได้ ก็ใช่ว่าคนอื่นจะหาแหล่งเดียวกับเราไม่ได้ แล้วต้องมาแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งทั้งในระนาบเดียวกันและต่างระนาบอีก พอตั้งราคาขายได้ ก่อนกดจ่ายค่าสินค้าลูกค้าเจอค่าส่งเข้าไป แทบจะปิดหน้าหนี
  3. ไม่สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าเองได้ สินค้าดรอปชิปที่หาจาก aliexpress แทบจะ 100% เป็นการผลิตแบบ mass แทบทั้งนั้น จะมีบ้างที่สั่งทำแบบ Private label แต่ก็ต้องสั่งสต๊อกในปริมาณที่ตกลงกันอยู่ดี (ปัจจุบันผมทำแบรนด์สินค้าของตัวเองเพื่อจะควบคุมคุณภาพได้)
  4. ในบางครั้งสต๊อกสินค้าที่เราจำหน่ายก็ไม่ได้มีตลอดเวลา สิ่งที่ต้องทำคือหาซัพพลายเออร์สำรองไว้สัก 2-3 เจ้า

จาก 4 ข้อข้างต้นนั้นยังมีอะไรที่ซับซ้อนอยู่พอสมควร แต่ผมก็เชื่อว่าเพื่อน ๆ ที่ทำดรอปชิปหลายคนสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านั้นได้สบายอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่สำหรับผมแน่ ๆ

ทุกวันนี้ผมทำอีคอมเมิร์สน้อยลง และแบ่งเวลามาทำสินค้าดิจิตอลแทน ซึ่งสินค้าดิจิตอลก็เป็นสิ่งที่ผมทำมาก่อนที่จะมาทำดรอปชิป และพอได้ทำดรอปชิปถึงได้รู้ว่า เออ ขายสินค้าดิจิตอลนี้มันส์กว่าเยอะ

– กำไรงาม (Hight profit margin)
– ไม่มีต้นทุนในการจัดส่ง (No shipping cost)
– ไม่มีข้อจำกัดในการจัดส่ง (No shipping restrictions)
– ไม่ต้องมีพื้นที่จัดเก็บและค่าใช้จ่าย (No storage space and cost)
– สินค้าไม่ขาดสต๊อกแน่นอน (No inventory shortage)

สำหรับสินค้าดิจิตอลนั้น ผมสามารถที่จะสร้างมันขึ้นมาได้เอง ควบคุณทิศทางมันได้เอง ว่าจะให้ไปทางไหน โดยทำเองเฉพาะงานที่ถนัด และจ้างในส่วนงานที่ไม่ถนัด เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ผมสามารถที่จะขายมันซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยที่ต้นทุนเฉลี่ยผมก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ และกำไรก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เห็นแบบนี้แล้วเพื่อน ๆ ว่าดีไหมกว่าไหมครับ

เอาล่ะครับสำหรับโพสต์นี้ ผมตั้งใจจะเขียนไว้เฉย ๆ เนื่องจากมีคำถามจากเพื่อนสมาชิก เลยอยากทำให้เป็นเหมือน blog daily สักหน่อย 55+ ขอตัวไปอ่านหนังสือต่อก่อนนะครับ

Beginner's Guide to Selling Digital Products 2020

คอร์สที่จะสอนให้เพื่อน ๆ สามารถสร้างสินค้าดิจิตอล และขายออนไลน์ได้รวมไปถึงการทำ List Building ที่จะช่วยสร้างฐานลูกค้าและประหยัดงบโฆษณาในอนาคต

รายละเอียดคอร์สเรียนและส่วนลดพิเศษจะถูกส่งเข้าอีเมล์ทันที  

(กรอกข้อมูลเสร็จแล้ว อย่าลืมเช็คอีเมล์ด้วยนะครับ มีรายละเอียดและโบนัสพิเศษ)

Recommended Articles

>